ตัวอย่างการกระทำผิดและบทลงโทษ

ข่าวการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หัวข้อข่าว  คุก 21ปีเศษ แฮกเกอร์แสบล้วงข้อมูลลับบัตรเอทีเอ็มลูกค้าแบงก์ใบโพธิ์ โอนเงินกว่า 3 แสนไปจ่ายหนี้ รับสารภาพเหลือติด10 ปี เศษพร้อมคืน3.6แสนให้ผู้เสียหาย

เนื้อหาข่าว

       นายภาณุพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ ฤกษ์เสริมสุข อายุ 30 ปี ชาว จ.นครนายก เป็นจำเลยในความผิดฐานเข้าระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน ทำลายแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ทำให้เกิดความเสียหาย ,ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ,ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยจำเลยบังอาจใช้ข้อมูลหมายเลข 16 หลัก ที่ปรากฏบนหน้าบัตร เอทีเอ็ม พร้อมรหัสลับที่ใช้ถอนเงินของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ผู้เสียหายที่ออกให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นผู้เสียหายอีก 4 ราย แล้วจำเลยนำไปสมัครขอใช้บริการ SCB EASY NET โดยกำหนดชื่อประจำตัว และรหัสผ่านด้วยตนเองตามขั้นตอนและวิธีการที่ ธนาคารฯ กำหนด เป็นเหตุให้ธนาคารฯหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้เสียหาย4 ราย จึงออกชื่อประจำตัวผู้ใช้ให้ จากนั้นจำเลยได้นำชื่อประจำตัวของผู้เสียหาย และรหัสผ่านไปโอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายเพื่อใช้ชำระค่าสินค้า หรือบริการทางอินเตอร์เน็ตหลายครั้งซึ่งเป็นร้านค้าต่างประเทศรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 368,800 บาท ต่อมาตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรรมทาง เทคโนโลยี (ปอท.) ติดตามจับกุมได้ พร้อมให้การรับสารภาพ เหตุเกิดที่แขวงเขต- จตุจักร กรุงเทพฯ และที่อื่นเกี่ยวพันกัน

กระทำผิดมาตรตรา

       กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/5 ประกอบมาตรา269/7 ,334,335 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 5,7,9

บทลงโทษในการกระทำผิด

       ศาลตัดสินบทลงโทษฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ 5 กระทง จำคุกกระทงละ 9 เดือน เป็นจำคุก 3 ปี 9 เดือน ฐานเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน ทำลายแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ทำให้เกิดความเสียหายฯ 4 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี เป็นจำคุก 8 ปี และฐานลักทรัพย์ฯ จำคุกกระทงละ 2 ปี 5 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี รวมจำคุก 21 ปี 9 เดือน คำรับสารภาพเป็นประโยชน์ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลย 10 ปี 10 เดือน 15 วัน และให้จำเลยชดใช้เงินคืน 368,800 บาทแก่ผู้เสียหายด้วย.

 วิเคราะห์ข่าว


    โดยส่วนตัวผมหลังจากที่ได้อ่านข่าวนี้นั้นผมคิดว่าเป็นสิ่งที่มีความผิดร้ายแรงทั้งในด้านกฎหมายและหลักจริยธรรมเป็นอันมาก เพราะคนร้ายนั้นทำผิดในด้านกฎหมายอย่างเห็นได้ชัดตามข่าว แต่ส่วนในเรื่องของหลักจริยธรรมแล้วคนร้ายมีความผิดเนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่ซึ่งเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเข้าไปก่อกวนระบบเป็นเหตุให้มีผู้เสียหายดังข่าวผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์อีกทั้งยังทำให้ผู้เสียหายต้องเสียสุขภาพทางจิตเนื่องจากว่าไม่รู้ว่ายังมีคนที่เป็นแฮคเกอร์แบบนี้อยู่ในสังคมอยู่อีกกี่ราย

แหล่งที่มา

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  ประจำวันที่    วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2555 เวลา 19:59 น.
http://keng8.blogspot.com/2012/11/blog-post.html



ข่าวการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์                                                                                                     

จับเครื่องสำอางปลอมขายผ่านเน็ตกว่า  30  ล้านบาท

               ดีเอสไอร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทลายเครือข่ายลักลอบขายเครื่องสำอาง น้ำหอม เลียนแบบยี่ห้อดังผ่านทางอินเทอร์เน็ต มูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท
          เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้จับกุม นายส้มโอ กุลสงคราม ซึ่งเป็นผู้ค้าและเจ้าของเว็บไซต์  www.bevershops.com ได้เปิดจำหน่ายเครื่องสำอาง   น้ำหอม เครื่องหนัง และนาฬิกาปลอมยี่ห้อดังต่าง ๆ จำนวนกว่า 20,000 ชิ้น พร้อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง และสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์หลายรายการ ทั้งกระเป๋า  เสื้อผ้า เข็มขัด แว่นตา และนาฬิกา  มูลค่าความเสียหายมากกว่า 30 ล้านบาท   ซึ่งผู้ต้องหาเป็นผู้ค้ารายใหญ่ทางอินเทอร์เน็ตจำหน่ายสินค้าปลอมผ่านทางเว็บไซต์มาเป็นเวลานาน  โดยนำสินค้าเข้ามาทางภาคตะวันออกโดยวิธีการจำหน่ายนั้นจะให้ลูกค้าสั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ตและโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร  ก่อนที่จะส่งไปทางไปรษณีย์  สำหรับยอดขายในแต่ละเดือนของเว็บไซต์ดังกล่าวมีมูลค่าการซื้อขายเดือนละไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท หรือไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อวัน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
                               มาตรา  ๑๔  ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี  หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
บทลงโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผลกระทบ

                -  ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผิด เพราะเป็นสินค้าปลอม  ข้อมูลอาจมีสรรพคุณเกินจริง  ทำให้ประชาชนหลงเชื่อได้ง่าย
                -  สร้างความเสียหายให้กับประชาชน   เนื่องจากประชาชนซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ปลอมมาใช้อาจทำให้เกิดผื่นคัน  ผิวหนังอักเสบจากการใส่สารเคมีบางตัวมากเกินไป
                -  ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกกับข่าวสารที่ได้รับจากสื่อมวลชน   และอาจจะไม่กล้าซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ มาใช้  เนื่องจากกลัวว่าอาจจะเป็นของปลอม ทั้งที่จริงสินค้าและผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นของจริง
                -  สร้างความเสื่อมเสียให้กับประเทศชาติ  เนื่องจากคนภายนอกประเทศจะมองว่าประเทศนี้ไม่มีความซื่อสัตย์และไม่น่าไว้วางใจ  ทำให้ไม่อยากมาเที่ยวเมืองไทยเพราะกลัวโดนหลอกลวงส่งผลกระทบไปยังภาคธุรกิจการท่องเที่ยวไทย
แนวทางแก้ไข
                เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทุกหน่วยงานควรจับกุมอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด  สร้างองค์กรป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อเร่งรัดและปราบปรามการกระทำความผิด  จับกุมและสืบหาต้นตอการผลิตสินค้าหรือการนำเข้าแบบผิดกฎหมาย  เพื่อจะได้ไม่มีผู้ใดสามารถขายสินค้าปลอมหรือผลิตสินค้าปลอมผ่านเน็ตได้  รวมทั้งตรวจสอบการเปิดการค้าทางเว็บไซต์อย่างเคร่งครัด





ตัวอย่างข่าวการกระทำความผิด จำคุกโพสต์รูปโป๊ หนุ่มประจานสาว

โดย ไทยรัฐ วัน พุธ ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 00:00 น.

จำคุกคนโพสต์รูปโป๊ หลังจากฝ่ายหญิงตีตัวออกห่าง สั่งจำคุก 9 เดือน ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฐานหมิ่นประมาท และเผยแพร่ ภาพลามก พร้อมให้จ่ายสินไหมอีก 2 แสนบาทที่ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญา เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 23 ธ.ค. ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อ.2097/2551 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายพุทธพงศ์ ฉลาดธัญกิจ อายุ 34 ปี เป็นจำเลย ในความผิดฐาน หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา เพื่อการแจกจ่ายทำให้แพร่หลายซึ่งภาพอันลามกนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเข้าถึงได้
โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 51 ระบุความผิดว่า ระหว่างวันที่ 6-29 ต.ค.50 ต่อเนื่องกัน จำเลยได้บังอาจใส่ความ น.ส.หน่อย (นามสมมติ) ผู้เสียหาย โดยการโฆษณาด้วยภาพจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นภาพการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย จำนวน 2 ภาพ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง  ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ก.ย.-11 ธ.ค. 50 ต่อเนื่องกัน จำเลยนำภาพการมีเพศสัมพันธ์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นการทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งรูปภาพอันลามกส่งเป็นจดหมายอีเมล์ ผ่านเข้าระบบคอมพิวเตอร์ ไปยังผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตหลายครั้งหลายคราวต่างกัน ภายหลังผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี (ปดส.) และสามารถจับกุมจำเลยเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 51 ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมของกลางเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุด จำเลยให้การปฏิเสธ เหตุเกิด ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ และ อ.เมืองนครสวรรค์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้เสียหายกับจำเลยเคยคบหาเป็นคนรักกันมาก่อน เคยบันทึกภาพระหว่างการมีเพศสัมพันธ์กันไว้หลายครั้ง แต่เมื่อทั้งสองคนเลิกกัน ฝ่ายชายเกิดความหึงหวง จึงนำภาพที่เคยถ่ายไว้ เผยแพร่ ทางคอมพิวเตอร์ ทั้งที่ในระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายคบกันไม่เคยมีภาพดังกล่าวปรากฏมาก่อน รับฟังประกอบกับการถ่ายโอนข้อมูลภาพทั้งหมดที่กระทำภายในคราวเดียวจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง นอกจากนี้ พยานโจทก์ทุกปากไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลย เชื่อว่าภาพในเว็บไซต์เป็นภาพเดียวกับที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลย และถูกส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังกล่าว ส่วนในคดีแพ่งนั้นศาลเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายด้วย

พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 387 (1) วรรคสอง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (4) (5) ฐานหมิ่นประมาทให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน และฐานเพื่อการจ่ายแจก หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชนทำให้ แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งภาพอันลามก นำสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเข้าถึงได้ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (4) (5) ลงโทษจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน รวมจำคุกจำเลยเป็นเวลา 9 เดือน และให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 200,000 บาท





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น